บริการ | Services

การแปรรูปประจก

GLASS PROCESSING

การแปรรูปกระจก เป็นกระบวนการผลิต
ตามรูปทรงและขนาดตามที่ลูกค้าต้องการ
ซึ่งก็จะประกอบด้วย การเจาะและบาก งานตัดกระจก
งานเจียร

ชนิดกระจก

PRODUCTS

ที่บริษัทได้ทำการผลิตและจัดจำหน่าย 
ประกอบด้วย กระจกเทมเปอร์ กระจกลามิเนต 
กระจกเคลือบสี กระจกดีไซน์พิเศษ 

ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

KNOWLEDGE BASE

ให้ความรู้ของกระจก ของเอสอาร์
 แอดวานซ์อินด์ดัสตรีส์
ให้ลูกค้าเชื่อใจและมั่นใจในเรา

SR Advanced Industries

เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกระจกแปรรูป ที่ได้รับความไว้วางใจ 
จากลูกค้ามากที่สุด แห่งหนึ่งในประเทศไทย 
ไม่ว่าจะเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจก ลามิเนต กระจกสี 
กระจกตกแต่ง (Decorative Glass) และ กระจกเงา 
ผลิตด้วยเทคโนโลยี เครื่องจักรครบวงจรจากยุโรป 

การแปรรูปกระจก | Glass Processing

ชนิดกระจก | Product

ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ | Knowledge Base

Knowledge Base


การสกรีนสัญลักษณ์มอก.บนกระจก สำคัญอย่างไร?

     โดยปกติแล้ว เราไม่สามารถแยกแยะระหว่างกระจกดิบและกระจกนิรภัยเทมเปอร์ได้ด้วยตาเปล่า แต่มีสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างความมั่นใจได้ ว่ากระจกแผ่นนั้นได้ผ่านกระบวนการแปรรูปจริง คือให้สังเกตการสกรีนโลโก้มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.965-2560) ที่มุมด้านบนของกระจก การสกรีนจำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ของโรงงานผู้ผลิตและตรามอก.ควบคู่กัน เพื่อยืนยันว่ากระจกแผ่นนั้นเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ที่ได้มาตรฐาน 100% และสอบกลับไปยังผู้ผลิตได้ กรณีกระจกนิรภัยลามิเนต ให้ท่านสังเกตการสกรีนโลโก้ มอก.1222-2560 ที่ต้องมีควบคู่กับสัญลักษณ์ของโรงงานผู้ผลิตเช่นเดียวกัน
 
     ประตูหรือฉากกั้นอาบน้ำที่เป็นกระจกบานเปลือย อย่างน้อยควรเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered glass) เพราะกรณีเกิดการแตก กระจกจะแตกเป็นลักษณะเม็ดข้าวโพด ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยสูงสุด ทางเราแนะนำให้ท่านสั่งเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ลามิเนต เพราะกระจกที่แตก จะถูกฟิล์มตรงกลางกระจกยึดไว้ ไม่กระเด็นออกสร้างความอันตรายแก่ร่างกาย
 
     หากท่านพบกระจกแผ่นไหนที่ไม่มีการสกรีนสัญลักษณ์ผู้ผลิตและมอก.เลย ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งาน และเลือกใช้เฉพาะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (หรือลามิเนต) ที่มีสกรีนสัญลักษณ์ผู้ผลิตและมอก. เพื่อความปลอดภัยเท่านั้น

Knowledge Base


ต้องการประหยัดพลังงาน ควรใช้กระจกแบบไหน?

     พลังงานจากดวงอาทิตย์ (Solar Transmission) ประกอบด้วยพลังงานหลักๆ 3 ตัว ได้แก่ 1. รังสียูวี (UV)  2. รังสีอินฟราเรด (Infrared)  3. แสงที่สายตามนุษย์มองเห็น (Visible Light) (ภาพที่ 1)  ซึ่งสำหรับคนที่ทำงานกับกระจกแล้ว เราต้องการได้กระจกที่กันความร้อนจากรังสีอินฟราเรด และสามารถกันรังสียูวี แต่ใสพอที่จะให้แสงสว่างส่องผ่านได้ (เพื่อประหยัดพลังงานจากเปิดไฟ) และแสงต้องไม่ส่องผ่านมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดภาวะแสงแยงตา (glare) 
 
     กระจกอะไร ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ... คำตอบคือ กระจกโลอี (Low-Emissivity / Low-E)
กระจกโลอี มีคุณสมบัติกันความร้อนที่มากับแสง Infrared แต่ยังมีความใสเพียงพอให้ Visible light ส่องผ่านได้ (ภาพที่ 2) โดยปกติแล้ว ควรใช้กระจกโลอีในลักษณะของกระจกลามิเนต (ฟิล์มลามิเนต มีคุณสมบัติกันรังสี UV) หรือกระจกอินซูเลต เพื่อป้องกันการหลุดหรือเสื่อมสภาพของสารโลอีที่เคลือบอยู่บนผิวกระจก (ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีการเคลือบกระจกโลอีในลักษณะ hard-coat ก็ตาม) และที่สำคัญ ในการสั่งผลิต อย่าลืมสเป็คให้ด้านที่เคลือบโลอีอยู่เป็น ‘surface #2’
 

     ถ้าจะให้เรียงลำดับกระจกโลอีที่ช่วยลดพลังงาน จากมากไปน้อย ทางเราแนะนำดังนี้

1.กระจกอินซูเลตโลอี

2.กระจกลามิเนตโลอี 

3.กระจกโลอีชั้นเดียว

แต่หากหน้างานมีงบประมาณไม่เพียงพอ ต้องใช้กระจกธรรมดา ก็สามารถเลือกเป็นกระจกสี หรือลามิเนตกระจกใสกับฟิล์มสี ได้เช่นกัน

Knowledge Base


‘Spontaneous Breakage’ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่?

     Spontaneous Breakage คือการแตกเองของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่สำคัญๆ คือ
1. แตกจากขอบกระจก เนื่องจากการเจียรขอบกระจกไม่เรียบร้อย  การขนส่ง/การแพ็คที่ไม่ดี หรือการติดตั้งโดยไม่มีอะไรรองระหว่างขอบกระจกและเฟรม เหล่านี้ ล้วนเป็นเหตุให้เกิดความเครียดในเนื้อกระจก ซึ่งจะส่งผลให้กระจกแตกเองได้ในเวลาต่อมา
2. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ที่โดนความร้อน จะเกิดความเครียด หรือ ที่เรียกกันว่า ‘Thermal stress’ ซึ่งหากกระจกเทมเปอร์แผ่นนั้นๆ มีการเจือปนของ “Nickel Sulfide” ในจุดที่เกิดความเครียด กระจกแผ่นนั้นจะแตกเอง 
 
     Nickel Sulfide ที่ว่านี้ อาจมีขนาดเพียง 0.05 มม. ก็สามารถทำให้กระจกเทมเปอร์แผ่นนั้นๆ แตกเองได้แล้ว Nickel Sulfide เป็นสิ่งเจือปนที่อาจเกิดขึ้น ในระหว่างกระบวนการผลิตกระจกโฟลต ซึ่งโรงงานแปรรูปกระจกนิรภัย ไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่า กระจกโฟลตที่นำเข้ามาในแต่ละล็อตนั้น มีส่วนผสมของ Nickel Sulfide หรือไม่
 
     ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิด Spontaneous Breakage ที่เกิดจากการเจือปนของ Nickel Sulfide ได้ 100% มีแต่เพียงวิธีหลีกเลี่ยง หรือ ลดความเสี่ยง หนึ่งในนั้น คือการสั่งกระจก Heat-strengthened แทนการสั่งกระจกเทมเปอร์ อีกทางหนึ่ง คือการ ‘Heat Soak’ กระจก หลังผ่านกระบวนการอบเทมเปอร์ กระจกที่อาจแตกเองเพราะมี Nickel sulfide จะแตกในกระบวนการ Heat Soak แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ยังไม่มีผู้ผลิตรายใด สามารถรับประกันได้ว่า การ Heat Soak จะลดการเกิด Spontaneous breakage ได้ 100% ได้แค่เพียงลด % ความเสี่ยงเท่านั้น